วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

                                                         
คุณค่าในด้านต่าง ๆ

 ๑ .คุณค่าด้านสังคม

                ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรก   และเป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
                ๒. สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดฯ   ให้มีการแต่งหนังสือภาษาไทยขึ้นเพื่อสั่งสอนให้เด็กไทยรักชาติและศาสนาของตนเอง           
๓.แต่งเพื่อเป็นแบบเรียนสำหรับให้เหล่ากุลบุตรกุลธิดาสนใจเล่าเรียนภาษาไทย  โดยจะสั่งสอนสอดแทรกไว้ในหนังสือ   ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษา (ตามที่ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น  ในหัวข้อจุดประสงค์ของการประพันธ์)
        ๔.ได้ทราบว่าในสมัยอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งมีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเกี่ยวกับชาติตะวันตกที่มีการเปิดโรงเรียนสอนศาสนาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
        ๕.มีการนำคริสต์ศาสนามาเผยแผ่  โดยเริ่มจากการจัดตั้งสำนักสอนพระคริสต์ธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน   คือ เริ่มสอนพระคริสต์ธรรมแก่เยาวชน  ควบคู่กับการสอนภาษาต่างประเทศ
        ๖.ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ   และนับถือศาสนา

    ๒. คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ

                  ๑. จินดามณีเป็นแบบเรียนเล่มแรกไทย   ประพันธ์โดยพระโหราธิบดี  เป็นแบบเรียนที่มีคุณค่ามาก      โดยเนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆ  ได้แก่อักษรศาสตร์และวรรณคดีหากผู้ใดได้ศึกษาแบบเรียนเล่มนี้ก็จะได้รับความเข้าใจ  และความรู้ที่แตกฉานด้านภาษาไทยในระดับหนึ่ง

                ๒. เป็นหนังสือที่ใช้สำหรับอ้างอิงที่ดีที่สุด และใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทยโบราณกับยุคปัจจุบัน

                ๒.๑  ด้านอักษรศาสตร์

                ๒.๑.๑ได้ทราบว่าลักษณะรูปของคำในอดีตแตกต่างกันกับปัจจุบัน  แต่ความหมายยังคงเดิม
                     ๒.๑.๒ได้ทราบว่าลักษณะรูปของคำในอดีตแตกับปัจจุบันมีการเขียนที่เหมือนกัน
                ๒.๑.๓ได้ทราบว่าในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงครองราชย์สมบัติ    และก่อนหน้ารัชกาลของพระองค์ยังไม่มีเครื่องหมายบางอย่างใช้
  ๑.รูปวรรณยุกต์ ตรี  และจัตวา   เพราะในสมัยนั้นมีเพียงแค่รูปวรรณยุกต์เอก (พินทุเอก/ไม้ค้อนหางหัว)  และรูปวรรณยุกต์โท (พินทุโท)  เพียงเท่านั้น

   ๒.ไม่มีรูปการันต์ใช้   เช่น พระโพธิสัตว์   พระอินทร์  แตรสังข์

                ๒.๑.๔ได้ทราบว่าคำไทยที่ใช้ไม้ม้วน  มี  ๒๐  คำมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   หรืออาจจะมีใช้กันก่อนหน้านั้น
๒.๑.๕ได้ทราบว่ามีการจำแนกออกเป็น  ๓   หมู่    ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช   หรืออาจะเป็นก่อนหน้านั้น      จินดามณี (๒๕๕๑:๒๒)ได้มีการประพันธ์ไว้ว่า
จำแนกอักษรเป็น  ๓  หมู่
                ๒.๑.๖ได้ทราบว่ามีการแจกลูก   คือการนะอักษรมาประสมกับสระเพื่อให้เกิดพยางค์สำหรับใช้ในการออกเสียง  เช่น  ก  กา   กิ   กี   กึ   กุ   กู   เก   แก   ไก   ใก   โก   เกา   กำ   กะ    และผันอักษร   คือการผันเสียงวรรณยุกต์   เช่น   ขา   ข่า   ข้า

                ๒.๑.๗ได้ทราบว่ามีตัวสะกดใช้อย่างเช่นปัจจุบันคือ  กก  กด  กบ  (คำตาย)    กน  กม   กง  เกอย   เกอว
๒.๒  ด้านวรรณคดี
                มีการอธิบายวิธีในการแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองต่างๆ  อาทิ   โคลง   กาพย์  ฉันท์   กลอน   และได้มีการยกตัวอย่างจากบทประพันธ์ของวรรณคดีในอดีตมาเป็นตัวอย่างประกอบด้วย

๓.เป็นแบบอย่างให้นักปราชญ์สมัยต่อมาเขียนแบบเรียนภาษาไทยขึ้น
          ไม่ว่าจะเป็นแบบเรียนประถม ก กา  และประถมมาลา  ซึ่งเป็นแบบเรียนที่มีการประพันธ์ขึ้นในสมัยรัตนโกสิทร์ตอนต้นนั้น   ก็ได้นำแบบเรียนจินดามณีมาเป็นแบบอย่างในการประพันธ์แบบเรียน  และใช้ในการเรียนมาจวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
เหตุที่มีการยกเลิกแบบเรียนจินดามณี   ประถม ก  กา    และประถมมาลา  เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชการที่ ๕)  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูล)  ประพันธ์แบบเรียนหลวงขึ้น   เพื่อใช้ประกอบการเรียนในโรงเรียนหลวง    แต่เนื้อหาในแบบเรียนหลวง ก็ยังคงมีใจความคล้ายกับ  จินดามณี”     แต่อาจะมีการปรับแต่ง   เพิ่มเติมเนื้อหาให้เป็นไปตามยุคสมัย

๓.คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑.มีการเล่นคำ
๑.๑ การเล่นซ้ำคำ   คือคำว่า คิด
                 คิดนักหอดหักแล้ว                              ในใจ
คิดควบถึงใครใด                                                  ร่วมรู้
คิดนักคิดหิวไป                                                    ในมะ   โนแฮ
คิดบ่มีเจ้าชู้                                                            บ่เว้นพระวันยาม ฯ

การเล่นคำโดยใช้การสลับที่
                เนตร   คมสมลักษณ์เนื้อ                   นิล   เนตร
น้อง    จรวรวานเชฐ                                          เหนียว   น้อง
ส่อง   ศรห่อนถูกเภท                                        เรียม   ส่อง
มา   สบจบจวบห้อง                                          ต่อเท้าวัน   มา ฯ


๒.การเล่นสัมผัส

ฝนตกนกร้องร่ำ                                  ครวญคราง
 ครางครวญถึงนวนนาง                      โศกเศร้า             
เศร้าโศกร่ำแต่ปาง                                ไปจาก
จากไปเรียมไฉนเจ้า                              พี่เพี้ยงตรอมตาย   ฯ

สัมผัสสระ
                                คือ    กับ   ถือ                                  
สัมผัสอักษร
 บท   กับ   บาท   กับ   เบื้อง             ถือ    กับ   แถม
 ทำ    กับ    โทษ                                  เหล้น   กับ   หลาน
      อักษรจัดถัดเนื้อง                                        โดยดับ
เปนสารสืนสี่ฉบับ                                               บอกไว้
เขบ็จขบวรควรคำนับ                                          อุปเทศ
นรชนสนใจได้                                                    ชื่อเชื้อเมธา   ฯ

สัมผัสสระ
                                จัด    กับ   ถัด                                  ใจ  กับ   ได้
สัมผัสอักษร
                                โดย   กับ   ดับ                                  สาร    กับ   สี่
                                เขบ็จ    กับ    ขบวร                           ขบวร   กับ   ควร
                                ชน    กับ    สน                                  ชื่อ      กับ    เชื้อ

๓ .มีการบรรยาย    พรรณนาให้เห็นภาพชัดเจน

               นางขับขานเสียงแจ้ว                          พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน                                        ภาพพร้อง
มโหรีบรรเลงไฉน                                             ซอพาทย์
ทับกระจับปี่ก้อง                                                เร่งเร้ารัญจวน   ฯ



 ที่มาของข้อมูล 
https://th.answers.yahoo.com/
http://tech-noppadon.blogspot.com/
https://www.gotoknow.org/posts/401028
http://www.poetthai.com/


หนังสือ วรรณคดีสมัยอยุธยา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วรรณคดีจินดามณี ประวัติผู้แต่งหนังสือจินดามณี          จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก) เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้...